คือความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ในหน้าที่ ความรับผิดชอบ การมีวินัยในตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง ทักษะทางสังคม และการสื่อสารกับผู้อื่น โดยสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
ทักษะชีวิตมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง
2. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
4. ทักษะการจัดการกับอารมณ์กับตนเอง
ทักษะสมอง EF
ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions: EF) คือ กระบวนการในสมองส่วนหน้าของมนุษย์ทุกคน ที่ใช้ในการคิด รู้สึก และกำหนดการกระทำ ซึ่งได้รับการฝึกฝนพัฒนาจนเป็นทักษะสมอง ทำให้“คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น” ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งยวด ทั้งต่อความสำเร็จในการ เรียน การทำงานอาชีพ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆต่อไปตลอดชีวิต
EF มีองค์ประกอบ 9 ด้าน จัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่
ทักษะพื้นฐาน
1. ความจำที่นำมาใช้งาน (Working memory)
2. ในการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
3. การยืดหยุ่นพลิกแพลงปรับตัว (Shiftingหรือ Cognitive Flexibility)
ทักษะกำกับตนเอง
4. การใส่ใจจดจ่อ (Focus Attention)
5. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
6. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
ทักษะปฏิบัติ
7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
8. การวางแผนและดำเนินการ (Planning and Organizing)
9. ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมาย (Goal- Directed Persistence)