รับมือให้ไหวเมื่อใจลูกพัง
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เด็กมีอาการผิดปกติทางจิตมากขึ้น
และเราจะป้องกันได้อย่างไร
หนังสือเล่มนี้เปิดประเด็นพูดคุยเรื่องที่น่าสนใจแต่ลูกละเลย พบกับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกวิธีสังเกตุ พร้อมยกตัวอย่างกรณีศีกษาที่จะทำให้คุณรับมือได้ เมื่อพบว่าลูกของคุณกำลังต้องการความช่วยเหลือ คุณหมอได้ชี้ให้เห็นว่าสังคม การศึกษา และการแพทย์จะต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างไรบ้าง เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รับการปกป้องและพ่อแม่จะได้เบาใจ
เรื่องย่อ
เมื่อลูกมีพฤติกรรมและภาวะอารมณ์ผิดแปลกไปจากเดิม พ่อแม่มักกังวลว่าลูกกำลังมีปัญหาทางจิตหรือไม่ แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่านั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์โดยทั่วไป หรือเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง นี่ไม่ใช่เรื่องที่ให้คำตอบกันได้ง่าย ๆ แต่น.พ. เอลเพอส์ จิตแพทย์เด็กและเยาวชนผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองได้อธิบายข้อข้องใจเหล่านี้ไว้อย่างละเอียดเข้าใจง่าย จำแนกและวิเคราะห์ปัญหาทางจิตเวชในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 0-18 ปี พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาประกอบ
หนังสือเล่มนี้จะเปิดประเด็นที่ถูกเพิกเฉยมานานเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนักรู้ว่านอกเหนือจากการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่แล้ว ควรขับเคลื่อนให้สังคม การศึกษา และระบบการแพทย์ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันด้วย เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ไม่เป็นการผลักภาระไปยังพ่อแม่เพียงอย่างเดียว
จุดเด่น
- พ่อแม่หลายคนไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมของลูกตัวเองเข้าข่ายโรคซึมเศร้า และไม่รู้จะจัดการ หรือสื่อสารอย่างไร เล่มนี้ให้คำแนะนำในการแยกแยะอย่างละเอียด และมีกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างให้เห็นชัดเจน
- เป็นหนังสือเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่เขียนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน อธิบายความรู้เชิงวิชาการโดยย่อยให้เข้าใจง่าย
- เนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและคนรอบข้าง ครอบคลุมตั้งแต่วัย 0-18 ปี
Dr. med. Michael Elpers
เป็นแพทย์ชาวเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์จิตสรีรวิทยาและจิตบำบัด เขาสำเร็จการศึกษาด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยดุสเซลดอร์ฟ ซึ่งเขายังได้รับปริญญาเอกทางการแพทย์ด้วย ดร. เอลเปอร์ส มีประสบการณ์มากมายในการรักษาโรคทางจิตเวช โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและสุขภาพกาย เขาเคยทำงานในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งในโรงพยาบาลและคลินิกส่วนตัว และเป็นที่รู้จักในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม นอกจากงานทางคลินิกแล้ว ดร. เอลเปอร์ส ยังมีบทบาทในงานวิจัยทางการแพทย์และการศึกษา โดยมีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการเวชศาสตร์จิตสรีรวิทยา นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาความเชี่ยวชาญของเขา