ฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
หนังสือที่ครูในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยและครูปฐมวัย ต้องมี
10 ปี บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
จุดเด่นของหนังสือ
• เคล็ดลับและกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
• แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและความรู้เรื่องการค้นหาความรู้ด้วยการสืบเสาะ
• มีตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปบมวัยที่นำไปปรับใช้ได้ในชั้นเรียน
• มีตัวอย่างโครงงานที่ผ่านการคัดเลือกจากการสัมมนาวิชาการปี 2563 ซึ่งคุณครูจะเข้าใจว่าโครงงานคืออะไร และเชื่อมกับบริบทของตัวเองได้อย่างไร
การปลูกฝังให้เด็กมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ หากรอให้เด็กอยู่ชั้นประถมหรือมัธยมก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไป การให้องค์ความรู้กับเด็กตั้งแต่ยังอยุ่ในระดับชั้นอนุบาล จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้นำแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 10 ปี ผ่านไป โครงการขยายไปทั่วประเทศ มีองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเพิ่มขึ้นมากมาย จึงได้รวบรวมแนวคิด เคล็ดลับ และหัวใจของการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ครูเข้าใจมากยิ่งขึ้น พร้อมตัวอย่างกิจกรรมที่นำไปปรับใช้ได้ในชั้นเรียน และตัวอย่างโครงงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก เพื่อให้เข้าใจว่าโครงงานคืออะไร สามารถนำไปต่อยอดทำโครงงานของตัวเองได้
ย้อนอดีตไปเมื่อปี พ.ศ.2552 เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรม Haus der Kleinen Forscher ณ ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาร่วมกับบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด นำรูปแบบ Haus der Kleinen Forscher หรือ “บ้านนักวิจัยน้อย”ของเยอรมัน ไปทดลองนำร่องในโรงเรียนไทย ด้วยทรงเห็นความสำคัญของการปลูกฝังทัศนคติและทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องให้แก่เด็กตั้งแต่ปฐมวัย ปัจจุบันมี 8 ภาคีที่ร่วมดำเนินโครงการ วันนี้ประเทศไทยมีกิจกรรม “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล จำนวนประมาณ 24,000 แห่งทั่วประเทศ
คำนิยม
ข้าพเจ้าขอขอบคุณทั้ง 8 ภาคี ที่ร่วมกันขับเคลื่อน "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มาจนถึงปีที่ 10 และขอให้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษต่อไปอย่างสร้างสรรค์และมั่นคง
-- พระราชสาร สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี --
ขอขอบคุณภาคีทั้งหลายทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ช่วยกันกันทำงานอย่างแข็งขันด้วยจิตอาสาอย่างแท้จริง และขออำนวยพรให้โครงการประสบความสำเร็จในการขนายผลไปยังระดับประถมศึกษาต่อไป
-- รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ --
ขอขอบคุณทุกภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมสนับสนุน และผลักดันโครงการนี้มาอย่างเข้มแข็งโดยตลอด อีกทั้งขอแสดงความชื่นชมอย่างจริงใจต่อคุณครูทุกท่านที่ทุ่ทเทอุทิศตนเพื่อการศึกษาของลูกหลานของเราให้มีอนาคตที่สดใสสืบต่อไป
-- บี.กริม (B.Grimm) --