อากิระ ยอดคุณหมอนักวินิจฉัยโรค เล่ม 1
'ถ้าไม่ได้เป็นหมอเฉพาะทาง ก็ถือว่าไม่ใช่หมอที่เเท้จริงยังงั้นเหรอ!?'
พบมังงะวงการแพทย์และปรัชญาการวินิจฉัยโรคจาก Amico
เป็นหนังสือที่ครอบคลุมเรื่องราวของคุณหมอผู้มีความสามารถอันน่าทึ่งในการวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อนและหายาก อากิระ ตัวเอกของเรื่อง เป็นแพทย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ทางการแพทย์ที่แข็งแกร่งเท่านั้น แต่ยังมีความเข้าอกเข้าใจและมีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง หนังสือเล่มนี้ดำดิ่งลงไปในแต่ละกรณีทางการแพทย์ที่ท้าทาย เสนอมุมมองที่แตกต่างและลึกซึ้งเกี่ยวกับงานในวงการแพทย์
เรื่องย่อ
เมื่อวงการเเพทย์ของญี่ปุ่นเล็งเห็นความสำคัญของหมอเวชปฏิบัติทั่วไปในฐานะ ‘ด่านหน้าเเห่งการคัดกรองโรค’ จึงเกิดการตั้งสาขาเฉพาะทางแผนกที่ 19 ขึ้นในโรงพยาบาล ทาคิโนะ หมอเเผนกศัลยกรรมกระดูกน้องใหม่ไฟแรง ที่เคยใฝ่ฝันอยากเป็นหมอที่รักษาโรคได้ทุกโรค เเต่ถูกสภาพการทำงานในโรงพยาบาลค่อยๆ กัดกร่อนความฝันจนเเทบไม่เหลือหลอ จนได้พบกับ โทคุชิเงะ อากิระ หมอเวชปฏิบัติทั่วไป (หมอ GP) ที่เพิ่งย้ายเข้ามาประจำแผนกเวชปฏิบัติทั่วไป อากิระหมอผู้ปฏิเสธการเป็นหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญการรักษาอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แต่กลับมุ่งมั่นจะเป็นหมอผู้เชี่ยวชาญในการเข้าใจชีวิตของคนไข้!! การพบเจอครั้งนี้จะทำให้เส้นทางอนาคตของทาคิโนะ เปลี่ยนไปตลอดกาล!!
- =editor's comments=
• อากิระแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งในแต่ละกรณีทางการแพทย์ โดยใช้ความรู้และทักษะของเขาในการวินิจฉัยและรักษา - • นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับ "การรักษาที่จำเป็นจริงๆ" และการตัดสินใจทางการแพทย์ที่อากิระต้องเผชิญในแต่ละกรณี
- • นำเสนอเหตุการณ์ทางการแพทย์ที่ท้าทายเป็นจุดเด่น แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและความต้องการในการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่เหมาะสม
แนะนำโดยนักอ่าน คลิกอ่านฉบับเต็ม
"จะเห็นว่ามังงะเล่มนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อย ทั้งในแง่ของ Empathy ผ่านมุมมองของหมอผู้วินิจฉัยโรค มุมมองของคนไข้ นอกจากนี้ยังเผยให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีม การที่คนๆ หนึ่งเก่งทุกเรื่องไม่ได้ แต่ทุกคนในทีมล้วนมีความสำคัญ การให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในฐานะที่เป็นหมอ ควรมีมุมมอง และวิธีคิดอย่างไร ทั้งในแง่ของวิชาชีพ หรือต่อบุคคลอื่นๆ ที่อยู่แวดล้อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเรา เป็นต้น
ผู้ปกครองและครูจะใช้มังงะนี้อย่างไร ครูเปี๊ยกแนะนำว่าเราสามารถพูดคุยกับนักเรียนในฐานะของวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง โดยพูดคุยกับนักเรียนในประเด็นเช่น 1) ยกเหตุการณ์บางเหตุการณ์ แล้วถามถึงอารมณ์ความรู้สึก หรือวิธีแก้ปัญหา ในมุมของเด็กๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงไม่เป็นเช่นนี้ ทำไมจึงคิดไม่เหมือนกัน เพื่อเรียนรู้เรื่องความแตกต่างหลากหลายได้ 2) เชื่อมโยงประสบการณ์ในมังงะกับเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้น หากเป็นประสบการณ์ของครอบครัว หรือในโรงเรียนก็จะทำให้เด็กๆ เห็นภาพได้ง่ายขึ้น สามารถเปรียบเทียบแทนตัวเองหรือผู้อื่นในชีวิตประจำวันกับตัวละครในเรื่องได้ เพื่อเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น"
*ในแต่ละหน้าอ่านจากขวาไปซ้าย