รับมือลูกน้อยวัยดื้ออย่างมีความสุข
หนังสือที่จะช่วยให้คุณยิ้มรับมือเจ้าตัวน้อยวัย 0-5ขวบจอมป่วนได้อยู่หมัด
พอมีลูกแล้ว ชีวิตส่วนตัวของคุณถูกขโมยไปเกือบหมดใช่ไหม! ทันทีที่พวกเขาหัดเดิน เด็ก ๆ เริ่มอยากรู้อยากเห็น อยากเป็นอิสระ อยากทำโน่นทำนี่ด้วยตัวเอง เผลอแป๊บเดียวเดี๋ยวลูกก็อยู่ชานบันได เผลออีกแว่บเดียว อ้าว! ลูกยืนอยู่ริมถนนแล้ว พ่อแม่ถึงขั้นกุมขมับ เพราะไม่รู้จะรับมือกับพฤติกรรมของลูกอย่างไร
หนังสือ รับมือลูกน้อยวัยดื้ออย่างมีความสุข ผู้เขียนแนะนำให้รับมือด้วยวิธีสบาย ๆ ไม่เข้มงวด พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลลัพธ์จากการเลี้ยงดูที่เข้าใจง่าย บ้านไหนก็ทำตามได้ โดยอธิบายถึงพัฒนาการของเด็กวัยดื้อซึ่งเป็นช่วงสำคัญของลูก พ่อแม่ควรยอมรับพฤติกรรม
ของเด็กแทนที่จะพยายามปราบพยศหรือควบคุม นอกจากนี้ยังสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ช่วยคลายความกังวลของพ่อแม่ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เพราะเหตุใดประเทศเยอรมนีจึงสอนเด็กให้เติบโตมาเป็นคนดีที่มีคุณภาพและมีความสามารถด้านต่าง ๆ มากมาย หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ!
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้
1. คู่มือปราบลูกเล็กจอมดื้อวัย 0-5 ขวบ ฉบับไม่ต้องเสียน้ำตาทั้งสองฝ่าย
2. ประสบการณ์ตรงจากสองคุณแม่เจ้าของบล็อก parenting ที่โด่งดังที่สุดในเยอรมนี
3. ยอดขายกว่า 400,000 เล่มในเยอรมนี ขายลิขสิทธิ์ไปแล้ว 14 ประเทศ
4. คำนิยมโดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์และครูหวาน-ธิดา พิทักษ์สินสุข
-รู้จักนักเขียน-
คัทยา ไซเดอ
คัทยา เป็นครูพิเศษสอนเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการทางอารมณ์ และสังคม เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้การมองเห็น และปัญหาอื่น ๆ เธอยังให้คำแนะนำแก่ครูวัยหนุ่มสาว ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ในชั้นเรียน และหาทางหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่พบในการสอนด้วย
ดาเนียลล์ กราฟ
ดาเนียลล์ จบการศึกษาด้านกฎหมายและบริหารธุรกิจ ทำงานตำแหน่งผู้บริหารองค์กรที่ศาลากลางเมืองของเมืองบ้านเกิด เมื่อมีเวลาเธอจะลุยอ่านหนังสือทุกเล่มเกี่ยวกับเด็กที่หาได้ ตอนนี้ห้องสมุดของเธอมีหนังสือประเภทนี้นับร้อยเล่มแล้ว ความเชี่ยวชาญพิเศษของเธอคือค้นคว้าวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงข้อเท็จจริง
" เมื่อเข้าใจและรู้ว่าควรทำอย่างไร รวมกับความรักที่เต็มเปี่ยม พ่อแม่จะมีพลังและความมุ่งมั่นที่จะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงตัวเอง พลิกสถานการณ์อันน่าปวดหัวให้คลายลง ความสุขก็จะหลั่งไหลเข้ามา สร้างความเบิกบานใจไปกับวัยเยาว์ของลูก"
ธิดา พิทักษ์สินสุข (ครูหวาน)- นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ
"เราไม่ควรบังคับให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบขอโทษ ถ้าเด็กยังมองโลกในมุมของคนอื่นไม่ได้"
คำขอโทษก็จะเป็นคำพูดที่กลวงเปล่า ขาดความจริงใจ ถ้าเช่นนั้นแล้วเราควรทำอะไร เราสามารถขอโทษคนอื่นแทนลูกในฐานะพ่อแม่ด้วยความรู้ง่าย ๆ ว่าเด็กดูอยู่และพร้อมทำตามกับเมื่อสมองส่วนรู้คิด (prefrontal cortex) พัฒนามากพอ เขาจะใส่ความหมายที่แท้จริงในคำขอโทษนั้น
-นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์-