ของขวัญสุดพิเศษสำหรับเธอ
สนุกกับ 2 มุมมองจาก 2 เพื่อนรักที่ชวนมามอบความรักให้กัน ผ่านการประดิษฐ์ของขวัญสุดพิเศษสำหรับเธอเลยละ!
เรื่องย่อ
เมื่อโคโค่เห็นเก้าอี้ของมีมี่พังและมีมี่เห็นว่ากระเป๋าของโคโค่เก่ามากแล้ว ทั้งสองจึงเกิดความคิดอยากทำของขวัญสุดพิเศษให้กันโดยไม่ให้อีกฝ่ายรู้ จะเป็นอย่างไรกันนะ...
ของขวัญสุดพิเศษสำหรับเธอ นิทานที่รวมเอาเกมสนุกๆไว้ด้วยในคราวเดียวกัน ในระหว่างติดตามฟังเรื่องราวในนิทาน เด็ก ๆจะได้ร่วมเล่น ร่วมลุ้นไปกับสองตัวเอกของเรื่อง โคโค่และมีมี่
การเล่นเกม ที่ผสานกลมกลืนไปกับเนื้อเรื่อง เกมเลยเป็นมากกว่าเรื่องสนุก เพราะเด็ก ๆได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในนิทาน มาเป็นผู้ช่วยแสนดีของโคโค่และมีมี่ที่ต่างต้องใช้ความพยายามในการหาของและหาทางกลับบ้าน
จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้
เล่นสนุกกับกิจกรรมหลายอย่างไปพร้อม ๆ กับการอ่านนิทาน
แผ่นเปิด-ปิดกลางหน้า ทำให้อ่านนิทาน 2 มุมมองจาก 2 ตัวละครให้สนุกยิ่งขึ้น
ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาฯ เขียนคำนิยม
ท้ายเล่มมีกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูสามารถนำไปใช้ได้
แนะนำโดยนักอ่าน
ของขวัญสุดพิเศษสำหรับเธอ | นิทานเกมส์ | รีวิวหนังสือเด็ก EP. 799
เรื่องราวของเพื่อนแมวทั้ง 2 ตัวโคโค่ และมีมี่ เมื่อเห็นว่าเก้าอี้ของเพื่อนพัง และกระเป๋าของเพื่อนเก่าขาด จึงอยากทำเซอร์ไพรส์โดยการทำเก้าอี้ และกระเป๋าใหม่กันกันและกัน หนังสือออกแบบให้มีเกมส์เขาวงกต และเกมส์ซ่อนหาในเล่ม ให้เด็กๆ สนุก สังเกต ไปพร้อมๆ กับการอ่านนิทานเลย ไปดูรีวิวกันค่า..Cr.Pinkplayroom 2020
คลิกอ่านรีวิวฉบับเต็ม
เกี่ยวกับผู้เขียน
Hiroshima Reiko, เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงในการสร้างเรื่องราวแฟนตาซีที่น่าดึงดูดและมีเสน่ห์. การเขียนของเธอมักจะเน้นไปที่การสำรวจธีมของจินตนาการ, ความฝัน, และการเปลี่ยนแปลง. ผลงานของเธอมักจะได้รับการชื่นชมสำหรับความสามารถในการเล่าเรื่องที่เข้มข้นและการสร้างโลกที่มีเสน่ห์ซึ่งดึงดูดผู้อ่านจากทุกวัย. Hiroshima Reiko มีความสามารถพิเศษในการผสานระหว่างความจริงและจินตนาการ, สร้างเรื่องราวที่ทั้งสนุกและให้ข้อคิด
คำนิยม
"ครูหวานชอบใจตรงเนื้อหาของนิทานเรื่องนี้ที่บอกเล่าถึงความมีน้ำใจซึ่งทั้งคู่ต่างแอบทำสิ่งที่คิดว่าเพื่อนจำเป็นต้องมีไว้ใช้ เพื่อทดแทนของที่ชำรุดหรือสภาพที่เก่ามากแล้ว
การได้รับของฝากหรือของขวัญที่ผ่านการ “ลงมือทำด้วยตนเอง” ผู้รับ จะรู้สึก ดีต่อใจ ซาบซึ้งใจ และมีคุณค่าทางจิตใจเกินกว่ามูลค่าของสิ่งของ สิ่งนี้ต้องให้เด็กๆได้เรียนรู้ไปทีละน้อย
เพื่อให้ เด็กให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตใจมากกว่าค่านิยมทางวัตถุ นอกจากนั้นต้องปรบมือให้ผู้วาดที่ลงรายละเอียดกับภาพแต่ละภาพอย่างเต็มที่ ทำให้มีเรื่องชวนคิด ชวนคุยกับเด็กๆได้มากมาย
ทุกครั้งที่อ่านนิทาน เด็กๆจะดูภาพและเก็บข้อมูลจากภาพไปพร้อมกันด้วย"
-ครูหวาน-ธิดา พิทักษ์สินสุข (นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ)-